Technology Design
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท 22101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 1
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาหลักการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เขียนแผนผังความคิด แสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้งจากการอ่าน ฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนบรรยาย พรรณนา เรียงความ ย่อความ พูดสรุปใจความสำคัญจากการฟังและการดู วิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดูได้อย่าง มีเหตุผล สร้างคำสมาส วิเคราะห์โครงสร้างของประโยค ฝึกการใช้คำราชาศัพท์ สรุปเนื้อหา วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่าน สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้กระบวนการทางภาษา การสืบค้นความรู้ การจดบันทึก ใช้ความสามารถในการคิด การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการเรียนรู้ ใช้ความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน เห็นคุณค่าของภาษาไทย นำความรู้ไปในการแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ในชีวิต เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด เห็นคุณค่าภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคภูมิใจในภาษาไทย และรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ
รหัสตัวชี้วัด
ท 1.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4
ท 2.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4
ท 3.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3
ท 4.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/4
ท 5.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3
รวม 17 ตัวชี้วัด
หลักภาษา
บทที่ 1 การสร้างคำสมาส
บทที่ 2 ลักษณะของประโยค
บทที่ 3 การแต่งกลอนสุภาพ
บทที่ 4 คำราชาศัพท์
บทที่ 5 คำที่ยืมจากภาษาต่างประเทศ
การอ่าน
บทที่ 6_1 การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและร้อยกรอง
บทที่ 6_2 การอ่านจับใจความ
บทที่ 6_3 การเขียนผังความคิดจากเรื่องที่อ่าน
บทที่ 6_4 การอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
บทที่ 6_5 ข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่าน ข้อเท็จจริง ข้อสนับสนุน
บทที่ 6_6 ความสมเหตุสมผลของงานเขียน การโน้มน้าว การชวนเชื่อ ข้อสังเกตุ
บทที่ 6_7 การประเมินคุณค่าสารที่ได้จากการอ่าน
บทที่ 6_8 มารยาทในการอ่าน
การเขียน
บทที่ 7_1 การคัดลายมือ
บทที่ 15 การเขียนบรรยายและพรรณนา
บทที่ 16 การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์
บทที่ 17 การเขียนย่อความ
บทที่ 18 การเขียนรายงาน
บทที่ 19 การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์สื่อต่างๆ
บทที่ 20 มารยาทในการเขียน
การฟัง การดู และการพูด
บทที่ 21 การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู
บทที่ 22 การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และความน่าเชื่อถือของสื่อ
บทที่ 23 การพูดวิเคราะห์และวิจารณ์จากเรื่องที่ฟัง และดู
บทที่ 24 การพูดในโอกาสต่างๆ อวยพร โน้มน้าว โฆษณา
บทที่ 25 การพูดรายงาน
บทที่ 26 มารยาทในการฟัง ดู พูด
วรรณคดี
บทที่ 1 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
บทที่ 2 บทเสภาสามัคคีเสวก
บทที่ 3 ศิลาจารึกหลักที่ ๑